วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561






พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
                การบริโภคในสภาวะและเหตุการณ์ของโลก ในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมากนับตั้งแต่หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิด จากการที่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นแล้วมีความจำเป็นที่ต้อง บริโภคมากขึ้นแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นจาก ความหลากหลายของพฤติกรรมมนุษย์ที่มีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคที่อยู่ในประเทศเดียวกันและเป็น สัญชาติเดียวกันยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางประเทศ มีความเป็นอยู่ที่รักในความเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเอกลักษณ์ที่เคยดำรงและรักษากัน มาช้านานก็มีอันต้องเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย นั่นไม่ได้ หมายความว่าจะหมดไปเลยสิ้นเชิงเพียงแต่ลดลงและ ปรับไปตามสภาพสภาวะเศรษฐกิจ และเมื่อการบริโภค ของมนุษย์ในอดีตนั้นไม่ได้มีทางเลือกอะไรมากมาย เหมือนในปัจจุบันจึงทำให้ในอดีตไม่ได้มีพฤติกรรมที่ แสดงถึงการแบ่งแยกการบริโภคหรือแยกสินค้ามากมายเฉกเช่นปัจจุบัน การบริโภคอาหารนั้นเมื่อสังคมและโลก เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นก็ย่อมส่งผลกระทบตามมาเพิ่ม มากขึ้น เช่น การเจริญเติบโตของเชื้อโรค การกลายพันธุ์ ของเชื้อโรคซึ่งพาหะที่นำมาก็หนีไม่พ้นเรื่องอาหารที่ บริโภคเข้าไป ผู้บริโภคจึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ตามสภาพปัจจุบัน เช่น เมื่อมีอายุที่สูงขึ้นจะหันมาดูแล สุขภาพมากขึ้นโดยเน้นเรื่องการบริโภคอาหาร โดยอาหาร ที่รับประทานเข้าไปนั้นจะต้องมีคุณภาพและไม่เป็น อันตรายต่อสุขภาพและยังต้องมีคุณค่าทางอาหารที่ ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมทั้งยังต้องมีให้เลือกบริโภคที่ หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการในโลกของ วัตถุนิยมครอบงำในปัจจุบัน ในการนำเสนอบทความ วิชาการในครั้งนี้ผู้เขียนจะนำเสนอในลักษณะพฤติกรรม ของการบริโภคประกอบด้วยพฤติกรมการบริโภคอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตาม ค่านิยมในกลุ่มผู้บริโภคปัจจุบันซึ่งมีทฤษฎีและแนวคิด ในแต่ละเรื่องของการบริโภค

พฤติกรรมการบริโภคอาหารเด็กวัยก่อนเรียน
                เด็กวัยก่อนเรียนหรือเด็กในช่วงอายุ 1-5 ปี เป็นวัยที่ยังมีการ เจริญเติบโตของร่างกายและสมองอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจากวัยทารก โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก เป็นวัยที่มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเกิดขึ้นอย่างมาก การจัดอาหารที่เหมาะสมมีพลังงานและสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็น สิ่งจำเป็น เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กให้ เต็มตามศักยภาพ ซึ่งจะเป็นรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับสุขภาพของเด็กทั้ง ในปัจจุบันและอนาคต และการปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีในวัยนี้จะส่งผล ต่อพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีในวัยต่อๆ มา1-2 เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัย ที่สามารถกินอาหารหลัก 5 หมู่ และควรกินให้หลากหลายเป็นประจำ ทุกวันเช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่โดยดัดแปลงทำให้สุกและอ่อนนุ่ม โดยกิน อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีคุณภาพ 1-2 มื้อต่อวัน ดื่มนม แม่อย่างต่อเนื่องและเสริมนมสดรสจืดวันละ 2-3 แก้ว ฝึกให้เด็กกินผัก และผลไม้จนเป็นนิสัย ฝึกกินอาหารรสธรรมชาติ ไม่หวานจัด มันจัด และ เค็มจัด ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงแต่งรสหวานและน้ำอัดลมและ เป็นอาหารที่สะอาดและปลอดภัย3-4 จากรายงานการสำรวจสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-25525 พบว่า เด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะเตี้ยซึ่งสะท้อน ปัญหาการขาดสารอาหารแบบเรื้อรังร้อยละ 6.3 ซึ่งมากเป็นสองเท่าของ เด็กวัยอื่น คือ พบภาวะน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มากกว่าภาวะน้ำหนักน้อย กว่าเกณฑ์ คือ ร้อยละ 7.6 และ 4.8 ตามลำดับ และมีความชุกของภาวะ น้ำหนักเกิน (เริ่มอ้วน) และอ้วนมากกว่าภาวะผอม คือ ร้อยละ 8.5 และ 2.7 ตามลำดับ จากรายงานดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเด็กวัยก่อนเรียนยังมี ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทั้งภาวะขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการ เกิน โดยมีภาวะโภชนาการเกินมากกว่า และจากรายงานการสำรวจ การ บริโภคอาหารของประชาชนไทยพ.ศ. 2551-25526 พบปัญหาพฤติกรรม การกินอาหารของเด็กอายุ 1-5 ปี คือ มีปัญหาการกินอาหารมื้อหลัก เช่น กินน้อย ไม่ยอมกิน เลือกกิน และกินมาก เป็นต้น เด็กส่วนใหญ่ไม่ กินผักผลไม้และไม่ดื่มนมทุกวัน และกินน้อยกว่าปริมาณที่เสนอแนะให้ บริโภค เด็กกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทอด ไข่เจียว ไข่ดาว เกือบทุกวัน และทุกวันมากกว่าประเภทต้ม ตุ๋น ปิ้ง ย่าง นอกจากนี้ ยังกินอาหารว่าง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น น้ำอัดลม ไอศกรีม และขนมกรุบกรอบ เกือบทุกวันและทุกวัน สำหรับพลังงานและสารอาหารที่เด็กได้รับ พบว่า เด็กบางคนได้รับพลังงานไม่เพียงพอ และบางคนได้รับในปริมาณมากเกิน ไป วิตามินและเกลือแร่ที่ได้รับในปริมาณน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับ คือ ไนอาซิน วิตามินซี และแคลเซียม ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการส่งเสริมสุข ภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัดคือ สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี และชัยนาท การส่งเสริมโภชนาการจัดเป็นส่วนสำคัญของงาน ส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก จากการศึกษาสถานสุขภาพ ของเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี โดย บุญชอบ7 พบว่า เด็กมีส่วนสูงตามเกณฑ์ น้ำหนักตามเกณฑ์และมีรูปร่าง สมส่วน ร้อยละ 82.2, 74.8 และ74.4 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ทางโภชนาการ8 โดยพบเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 12.7 ซึ่งสูงกว่า เด็กทั่วประเทศ และพบเด็กมีพฤติกรรมการกินอาหารเช้าทุกวันเพียง ร้อยละ 69.1 ไม่กินผักร้อยละ 25.9 ดื่มน้ำอัดลมเกือบทุกวันและทุกวัน ร้อยละ 54.3 และ 11.7 ตามลำดับ และกินขนมกรุบกรอบเกือบทุกวัน และทุกวันร้อยละ 38.3 และ 52.5 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวแสดง ว่าเด็กวัยก่อนเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ยัง มีปัญหาทุพโภชนาการโดยเฉพาะภาวะโภชนาการเกิน รวมทั้งการมี พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมที่ควรได้รับการแก้ไข การศึกษานี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กวัยก่อนเรียน ในพื้นที่ ความรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี โดยมุ่งเน้นที่แบบแผนการบริโภคอาหารหลักของเด็กว่าเป็นอย่างไร และเด็กได้รับพลังงานและ สารอาหารจากอาหารบริโภคเพียงพอเหมาะสมหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การ กำหนดแนวทางในการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อน เรียนในพื้นที่ต่อไป

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่น
                  พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพสังคม วัฒนธรรม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขึ้น จากวิถีชีวิตที่เคยรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ทั้งครอบครัวในบ้าน โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้าแต่ด้วยวิถีชีวิต ที่เร่งรีบในปัจจุบัน ก็เปลี่ยนเป็นการเลือกรับประทานอาหาร นอกบ้าน รับประทานอาหารจานด่วน (fast food) และ เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปกันมากขึ้น เพราะความสะดวก และรวดเร็ว (สุลัดดา พงษ์อุทธา และวาทินีคุณเผือก, 2558)จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย ปี2556 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ(2557) ได้ดำเนินการ สำรวจทุก 4 ปีพบว่ากลุ่มวัยเด็กอายุ6-14 ปีมีสัดส่วน การบริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ถึงร้อยละ92.70และเยาวชน อายุ15-24 ปีร้อยละ 86.70 อย่างไรก็ตาม กลุ่มเด็ก และเยาวชนเหล่านี้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลัก มากกว่า 3 มื้อ และนิยมบริโภคกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง 1-2วันต่อสัปดาห์ถึงร้อยละ48.10รวมทั้งนิยมซื้ออาหาร สำเร็จรูปสูงถึงร้อยละ 52.20 ซึ่งเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับ โรคอ้วนและส่งผลเสียต่อสุขภาพ การซื้ออาหารที่ไม่ได้ปรุง ขึ้นเองนั้น อาหารมักมีน้ำตาลไขมัน และโซเดียมในปริมาณ ค่อนข้างสูง โดยกลุ่มอายุน้อยๆ จะรับประทานผักและ ผลไม้น้อยแต่รับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วนและดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมมากกว่ากลุ่มอายุที่มากขึ้น จากการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจืด ของคนไทย พบว่าคนภาคเหนือชอบรับประทานอาหารรสจืด คนภาคใต้ชอบรับประทานอาหารรสเผ็ด คนภาคกลาง ชอบรับประทานอาหารรสหวาน รวมทั้งชอบดื่มน้ำอัดลม รับประทานอาหารกรุบกรอบ และอาหารจานด่วนมากกว่า คนภาคอื่น ๆ นอกจากนี้กระแสสื่อสังคมออนไลน์(social media) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของวัยรุ่น ซึ่งปัจจุบัน สื่อโฆษณาใน ประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากขึ้น อาหารเสริมและ อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการและหาซื้อได้ง่าย โดยผ่านสื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต เพียงแค่ผู้ผลิตนำภาพ อาหารจากร้านที่มีชื่อเสียงมาโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ ต่างๆ ก็สามารถเป็นที่ถูกใจคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะ วัยรุ่น ให้หันมาใช้สินค้าและเลือกบริโภคอาหารผ่านทางสื่อนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น บทความวิชาการนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการบริโภคอาหารลักษณะพฤติกรรมการบริโภค อาหารที่เปลี่ยนแปลง ผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภค อาหาร และแนวทางแก้ไขพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของวัยรุ่นไทย


พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ
             สถานการณ์ประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มจากร้อยละ 6.3 ในปี พ.ศ. 2523 เป็นร้อยละ 9.50ในปี พ.ศ. 2543 และ ร้อยละ 11.90ใน ปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคม สูงวัย (Aging Society) เนื่องจากสัดส่วนของประชากร อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงมากกว่าร้อยละ 10 ของ ประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้ม สูงขึ้นมากกว่าสองเท่าตัวเป็นร้อยละ 25 ในปี 2573 ซึ่ง ถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว (Aged society) (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, 2555; ชมพูนุท พรหมภักดิ์, 2556) จากแนวโน้มของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง นำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากวัยสูงอายุมีธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง ในทางที่เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม (คณิณญา พรนริศ, 2546) ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่าโรคไร้เชื้อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการตายที่ส าคัญ ส าคัญส าหรับคนไทยในอันดับต้นๆ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) ซึ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค การที่ผู้สูงอายุได้รับอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้มีภาวะ สุขภาพที่ดีหรือชะลอการเกิดโรคไร้เชื้อเรื้อรัง ในทาง ตรงกันข้ามถ้าได้รับอาหารที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมกับ ความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้เกิดปัญหาทุพ โภชนาการ ซึ่งมีทั้งโภชนาการต่างหรือขาด ได้แก่ โรคขาดวิตามินเอ โรคขาดวิตามินดี โรคโลหิตจางจากการขาด ธาตุเหล็ก โรคคอพอก โรคกระดูกพรุน เป็นต้น และ ปัญหาโภชนาการเกิน ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น (ทินกฤต มะโนจิตร, 2549: สิริพันธุ์ จุล กรังคะ, 2550) นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทาน อาหารท้องถิ่นส่งผลให้มีภาวะสุขภาพที่ดี (ขวัญเรือน สม หาญ, 2545) ดังนั้นโภชนาการในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่มี ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ การมีภาวะโภชนาการ ที่ดียังช่วยในการต้านทานโรค ลดการติดเชื้อ การ เจ็บป่วยและการตาย ตลอดจนส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาว (คณะกรรมการวิชาอาหารเพื่อมนุษยชาติ ศูนย์วิชา บูรณาการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป, อัญชนีย์ อุทัยพัฒนา ชีพ และสิริพันธุ์ จุลกะรังคะ, 2556) บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ เมืองเลย จังหวัดเลย แต่เดิมมาเป็นบ้านเก่าแก่มีอายุกว่า 400 ปี ประเพณีและ ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายในบ้านนาอ้อ รวมทั้ง วัฒนธรรมทางด้านอาหาร ทำให้บ้านนาอ้อถูกขนานนาม ว่าเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ และเป็นหมู่บ้านที่มี ประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากคิดเป็นหนึ่งในหกของ ประชากรทั้งหมด (เทศบาลตำบลนาอ้อ, 2553) โดยมี ผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี ประมาณร้อยละ 15.00 ของ ผู้สูงอายุทั้งหมด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการบริโภค อาหารของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่ดี ในหมู่บ้านวัฒนธรรม นาอ้อ ตำบลนาอ้อ จังหวัดเลยถึงหลักการหรือแนวคิดใน การบริโภคอาหาร และตำรับของอาหารที่รับประทาน เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีเพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึง ความสำคัญของอาหารท้องถิ่นที่บริโภคต่อคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชน และเพื่อได้เป็นต้นแบบหรือภูมิปัญญาที่ เป็นคลังความรู้และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในหมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ อัน จะเป็นข้อมูลส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อาหาร ท้องถิ่นสืบต่อไป

สุขภาพช่องปาก
การดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยแรกเกิด ถึง 6 ปี(วัยทารก-ปฐมวัย)
ปรากฎการณ์ที่พบเป็นปกติ
ภาวะฟันขึ้น
เมื่อทารกมีอายุ 6-9 เดือน ฟันซี่แรกจะโผล่ขึ้น
เมื่ออายุ 3 ปี ฟันน้ำนมขึ้นครบชุดทั้ง 20 ซี่
หน้าที่สำคัญของฟันน้ำนม
   - ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก
   - รักษาระยะของฟันแท้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
   - ส่งเสริมการพูด ยิ้ม และความมั่นใจในตนเองของเด็ก
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็ก
การรับประทานอาหารหรือดื่มนมบ่อยเกินไป
การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือมีความเป็นกรด เช่นน้ำผลไม้ น้ำอัดลม
การดูดนมจากขวดในตอนกลางคืน


ปัญหาที่พบบ่อย
• เจ็บเหงือก ปวด บวม จากภาวะฟันขึ้นในทารก
ปัญหาฟันผุ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกของทารก
ฟันหน้าและกระดูกโดยรอบฟันผิดรูปร่างจากการดูดนิ้วหัวแม่มือติดต่อกันเป็นเวลานาน
คราบแบคทีเรียสะสมบนผิวฟัน ลิ้นและเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก
ตรวจสอบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กๆ ดีพอหรือไม่
1. แปรงฟันภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง                           
2. ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งหลังอายุครบ 4 ปี                          

3. ใช้แปรงฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่มีหัวแปรงขนาดเล็กขนแปรงที่อ่อนนุ่ม 
4. มีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี                                

เด็กๆ ควรแปรงฟันเมื่อไร และอย่างไร
     • สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี ยังควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแปรงฟันไม่ดีพอ ผู้ปกครองควรให้ความช่วยเหลือหรือดูแลเด็กแปรงฟันได้อย่างทั่วถึงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
     • ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำเด็กในการทำความสะอาดบริเวณที่เข้าถึงยาก
     • กำชับให้เด็กบ้วนยาสีฟันทิ้ง อย่ากลืนยาสีฟัน
 ยาสีฟันชนิดใดที่เหมาะกับเด็ก

    • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี มักเผลอกลืนยาสีฟันแทนการบ้วนทิ้ง จึงควรใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณต่ำ มีรสอ่อน และฟองไม่มาก
 แปรงสีฟันชนิดใดที่เหมาะกับเด็ก
     • เลือกแปรงสีฟันหัวแปรงขนาดเล็ก ขนแปรงอ่อนนุ่มและมีด้ามแปรงที่เด็กจับได้ง่าย ถนัดมือ
 จะทำอย่างไรหากเด็กไม่ยอมแปรงฟัน
     • ให้เด็กได้เลือกแปรงสีฟันสีสันสดใส รูปแบบน่าดึงดูดใจ ด้วยตนเอง
     • อย่าเพิ่งแปรงฟันให้เด็กทันที แต่ให้เขาทำความคุ้นเคยกับแปรงสีฟันของตัวเองในขณะอาบน้ำก่อน แล้วค่อยๆ พูดกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากแปรงฟันทีหลัง
เราควรพาเด็กไปพบทันต์แพทย์เป็นครั้งแรกเมื่อไร
    • เริ่มได้ตั้งแต่เด็กมีอายุครบหนึ่งปี
 ได้อะไรจากการพบทันต์แพทย์ครั้งแรก
     • การตรวจสุขภาพฟันทั่วไป
     • การตรวจวินิจฉัยภาวะเสี่ยงฟันผุ
     • รับคำอธิบายและแนะนำการดูแลสุขภาพฟันเด็กที่ถูกต้อง
     • สร้างความคุ้นเคยในการเข้าพบทันต์แพทย์ให้กับเด็ก

การดูแลสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น
วัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่มักจะหิวบ่อย และชอบกินของขบเคี้ยว ขนมหวาน ลูกอมต่างๆ จนติดเป็นนิสัย ถ้าขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอแล้ว ก็จะเกิดฟันผุง่ายมาก และที่สำคัญวัยรุ่นมักมีปัญหาเรื่องโรคเหงือก ที่เป็นกันมากคือ เหงือกอักเสบ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว แต่สาเหตุใหญ่เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดปากและฟันมากกว่า วัยนี้จึงควรให้ความสนใจเรื่องการแปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึง การกินอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอสำหรับการเจริญ เติบโตของร่างกาย และพึงปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันโรคฟันผุและโรคปริทันต์ ดังนี้
1.       แปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึง แปรงฟันหลังอาหารทุกครั้งและก่อนเข้านอนเพื่อกำจัดเศษอาหารและคราบสกปรก
2.       ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ
3.       ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์บริเวณซอกฟัน
4.       กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างฟันและเหงือกให้แข็งแรง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตย์ นม ไข่ ผลไม้
5.       หลีกเลี่ยงอาหารหวาน หรือขนมเหนียวติดฟัน, ไม่กินจุบจิบ พร่ำเพรื่อ
6.       ตรวจฟันและเหงือกด้วยตนเองสม่ำเสมอ และควรไปพบทันต์แพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากขูดหินปูนทำความสะอาดฟัน และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในช่องปาก


การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงวัย


-ฟันเป็นอวัยวะสำคัญ ที่ต้องใช้ในการกิน อาหาราทั้งการเคี้ยว กัด กลืน และการพูด
-การสูญเสียฟัน การเกิดรอยโรค และความ เจ็บปวดในช่องปาก จัดเป็นปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งในผู้สูงวัย ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และ คุณภาพชีวิต
-การรักษารอยโรค หรือการใส่ฟันเทียม แก่ผู้สูงวัยมักจะยุ่งยากซับซ้อนกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ เนื่องจาก สุขภาพร่างกาย และสภาวะโรคในช่องปากที่เรื้อรังมานาน ทำให้ใช้เวลานาน หลายครั้ง หลายขั้นตอน ที่ต้องการ ความร่วมมือจากผู้สูงวัยที่มารับบริการ จึงไม่สะดวกทั้งตัว ผู้สูงวัยและผู้ดูแล
-ดังนั้น การดูแลสุขภาพด้วยตนเองหรือผู้ดูแล ที่บ้าน และการป้องกันโรคในช่องปากเพื่อลดโรค ลดการ สูญเสียฟัน ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้สูงวัย 2 การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ สามารถปฏิบัติได้ ด้วยตัวผู้สูงวัยเอง หรือ โดยผู้ดูแลในกรณีที่ผู้สูงวัยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สำหรับ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ เรื่องที่ต้องการการดูแลมี 4 เรื่อง คือ
 1. การทำความสะอาดฟันแท้และฟันเทียม (ฟันปลอม)
2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
3. การเลือกรับประทานอาหาร
4. การรับบริการตรวจป้องกันและรักษาจาก ทันตบุคลากร        
  สุขภาพปากและฟันที่ดี หมายถึง ฟันที่ดูสะอาดไม่มีเศษอาหารติดอยู่เหงือกสีชมพู ไม่เจ็บ หรือมีเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือขัดฟัน ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก ถ้าเหงือกมีอาการเจ็บหรือเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือขัดฟัน หรือมีปัญหาเรื่องกลิ่นปากตลอดเวลา ควรพบทันต์แพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหา ทันต์แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคเพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี ตลอดจนแนะนำบริเวณที่ต้องดูแลเป็นพิเศษระหว่างการแปรงฟันหรือขัดฟัน

ทำอย่างไรให้มีสุขภาพปากและฟันที่ดี 
การรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณจะทำเพื่อเหงือกและฟันของคุณ ฟันที่แข็งแรงไม่เพียงแต่จะช่วยให้ดูดีและรู้สึกดีเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณรับประทานได้สะดวก และพูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำอีกด้วย สุขภาพปากและฟันที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการความเป็นอยู่ที่ดี การดูแลประจำวัน ซึ่งก็คือการแปรงฟันอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันเกี่ยวกับช่องปาก ทำให้เจ็บตัวน้อยกว่า ประหยัดกว่า และวิตกกังวลน้อยกว่าการที่ต้องรับการรักษาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว


พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก ชนิดของอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก คืออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ทุกระบบ ส่วนอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากคือ อาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล ซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปด้วย การบริโภคแป้งและน้ำตาลจำนวนมากเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ น้ำตาลเป็นสารที่เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากใช้สร้างกรด และสร้างสารที่ช่วยให้เชื้อจุลินทรีย์ยึดติดกับผิวฟัน น้ำตาลที่ทำให้เกิดโรคฟันผุได้มากที่สุดคือน้ำตาลซูโครส หรือน้ำตาลทราย ส่วนน้ำตาลกลูโคส มอลโตส ฟรุกโตสทำให้เกิดฟันผุรองลงมา และน้ำตาลแลคโตสทำให้ เกิดฟันผุน้อยที่สุด สำหรับอาหารจำพวกแป้งจะถูกเอนไซม์อะไมเลส (enzyme amylase) ในน้ำลาย ย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลซึ่งเชื้อจุลินทรีย์นำมาสร้างกรดได้ ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการเกิดโรคฟันผุ ไม่ใช่มีแต่เพียงชนิดของอาหาร ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยได้แก่
 1.ความถี่ในการบริโภค ลักษณะของอาหาร และระยะเวลาที่อาหารตกค้างในช่องปาก
 เมื่ออาหารเข้าสู่ช่องปาก อาหารบางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ บางส่วนถูกดูดซึมผ่านเยื่อบุช่องปาก บางส่วนถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ในน้ำลาย และส่วนใหญ่คลุกเคล้าไปกับน้ำลายและถูกกลืนลงไป อาหาร ในรูปแบบของแข็ง ของเหนียวข้น จะคงอยู่ในปากนานกว่าอาหารที่อยู่ในรูปแบบของเหลว การรับประทาน จุบจิบ รับประทานอาหารเหนียวติดฟันเช่น ตังเม ทอฟฟี่ ผลไม้กวน มะขามหวาน รวมทั้งขนมถุง อาหาร เหล่านี้จะอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน จุลินทรีย์จึงสร้างกรดได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผิวฟันสูญเสียแร่ธาตุ ไปมากกว่าที่คืนกลับสู่ผิวฟัน อาหารจำพวกแป้ง  เช่น เบเกอรี่ต่าง ๆ ที่รวมตัวกับน้ำลายเป็นก้อนเละๆ ขจัดออกได้ยาก อาจก่อให้เกิดโรคฟันผุได้มากกว่าน้ำตาล เพราะตกค้างในปากได้นานกว่า ดังนั้นขนมที่มี แป้งและน้ำตาล เช่น ขนมปัง เบเกอรี่ คุกกี้ ขนมหวานจะทำให้เกิดฟันผุได้มาก
2. ความสามารถของอาหารที่จะกระตุ้นการไหลของน้ำลาย
                อาหารจำพวกเนยแข็ง และ อาหารที่มีเส้นใยเช่น ผัก ผลไม้ที่ต้องเคี้ยว สามารถกระตุ้นการหลั่งของน้ำลายได้มาก น้ำลายจะช่วย ชะล้าง ลดการตกค้างของเศษแป้งและน้ำตาลในช่องปาก เจือจางและสะเทินฤทธิ์กรดที่เกิดขึ้น แร่ธาตุใน น้ำลาย สามารถช่วยป้องกันการละลายเกลือแร่ออกมาจากฟัน (demineralization) และช่วยใน กระบวนการคืนกลับเกลือแร่สู่ฟัน (remineralization)
3.องค์ประกอบโดยรวมของอาหาร ดูทั้งมื้อว่ากินอะไรไปบ้าง ลำดับอาหารที่กิน ดูผลรวม ที่เกิดจากอาหารทั้งมื้อ อาหารจำพวกโปรตีนและไขมันจะขัดขวางการนำน้ำตาลเข้าเซลล์ของจุลินทรีย์ จึงไม่เกิดกรด หรือทำให้เกิดกรดได้น้อยลง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยแข็งมีแคลเซียมฟอสเฟต และเคซีน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง จะช่วยส่งเสริมการคืนกลับของแร่ธาตุสู่ผิวฟัน
4. ปัจจัยเฉพาะบุคคล เช่น ปริมาณ การไหล และระดับความเป็นกรดด่างของน้ำลาย การดูแลอนามัยช่องปาก การมีประวัติฟันผุ การกินยาบางอย่าง หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการเกิดโรคฟันผุ สิ่งที่ อาจมีผลมากกว่าชนิดของอาหารคือ ความถี่ในการบริโภค ลักษณะอาหาร และวิธีการกิน

                อวัยวะในช่องปาก หมายถึง ฟันและอวัยวะปริทันต์ทั้งหลาย เป็นอวัยวะที่ต่างจากส่วนอื่น ของร่างกาย ในแง่ที่มีความสัมพันธ์กับอาหาร ทั้งการถูกสัมผัส โดยตรง ขณะบดเคี้ยว และคลุกเคล้าอาหารในปาก และโดยทางอ้อม คือ อาหารที่รับประทานเข้าไป จะผ่านกระบวนการย่อย แล้วถูกนำไปใช้ ในการเจริญเติบโต พัฒนาความแข็งแรงของเหงือก และฟัน เหมือนอวัยวะทั่วไปของร่างกาย
                ถ้าขาดสารอาหารบางชนิด ในขณะที่ร่างกายมีการสร้างฟัน ฟันอาจไม่สมบูรณ์ มีผิวขรุขระ เนื้อฟันไม่แข็งแรง อ่อน เปราะ เหงือกมีความต้านทานต่ำ เมื่อสัมผัสอาหารขณะบดเคี้ยว จะเกิดการตกค้าง คราบจุลินทรีย์เกาะติดบนผิวฟัน เกิดโรคฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย เพราะฉะนั้น การป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น จะต้องให้ความสำคัญ ต่อการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ และในขณะเดียวกัน ก็ควรให้ความสนใจ ดูแลความสะอาด ไม่ให้มีเศษอาหารตกค้างในปาก ควบคู่กันไป จึงจะเป็นการป้องกันโรคฟันผุ และเหงือกอักเสบ ที่ได้ผลที่สุด
1.1 ผลของอาหาร ต่อการพัฒนาความแข็งแรง ของเหงือกและฟัน
อาหารพวกเกลือแร่
ปกติ การสร้างฟันจะเริ่มตั้งแต่ ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณเดือนครึ่ง เพราะฉะนั้น มารดาจะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คราบทั้ง 5 หมู่ และดูแลสุขภาพตนเองอย่างดี โดยเฉพาะอาหารที่จำเป็น สำหรับการสร้างความแข็งแรง ให้กระดูกและฟัน สำหรับลูก คือ พวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งมีมากใน อาหารทะเล เช่น ปู ปลา กุ้ง ข้าวซ้อมมือ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ตับ ลูกเดือย ผักกุยช่าย ใบขี้เหล็ก เห็ดหูหนู ใบแมงลัก หรือในผลไม้ เช่น ขนุน น้อยหน่า พุทรา มันแกว เป็นต้น จะมีผลโดยตรง กับพัฒนาการของเคลือบฟัน เนื้อฟัน ในฟันน้ำนม ซึ่งทารกจะได้รับอาหารเหล่านี้ ผ่านทางรก ถ้ามารดาขาดสารอาหารเหล่านี้ โครงสร้างของฟันในทารก จะไม่แข็งแรง เคลือบฟันอ่อนยุ่ย ขรุขระ เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ ทำให้ฟันผุง่าย นอกจากนี้ ยังทำให้การสร้างเนื้อฟันโดยปกติ มีปริมาณโปรตีน เป็นส่วนประกอบถึง 1 ใน 5 ส่วน ผิดปกติไป เนื้อฟันอ่อน เพราะฉะนั้น เมื่อฟันผุลงลึก ไปจากชั้นเคลือบฟัน ซึ่งเป็นชั้นนอกสุด เข้าสู่ชั้นเนื้อฟัน ก็จะลุกลาม สู่โพรงประสาทฟัน ซึ่งเป็นชั้นในสุด อย่างรวดเร็ว
                เมื่อเด็กคลอดแล้ว สามารถกินอาหารได้เอง สารอาหารที่ควรพิจารณาเพิ่มให้เด็ก เพราะเป็นสารอาหาร ที่มีบทบาทในการสร้างเสริมเนื้อฟันให้แข็งแรง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปนั่น คือ สารฟลูออไรด์ ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีทั้งในพืช และในสัตว์
-ในพืช เช่น ใบชา พบว่า มีปริมาณฟลูออไรด์ สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ นอกนั้นก็มีใบกุยช่าย ตั้งโอ๋ ถั่วงอก สะระแหน่ มะเขือยาว แครอท ใบเมี่ยง พริก เป็นต้น
-ในสัตว์ พวกปลาทะเลบางชนิด ที่มีกระดูกอ่อน กินได้ทั้งตัว เช่น ปลาไส้ตัน ปลาดาบเงิน จะมีฟลูออไรด์มากกว่าปลากระดูกแข็ง เช่น ปลาทู
-บางพื้นที่ พบว่า มีสารฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ค่อนข้างสูง เช่น ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนที่อาศัยในแถบนั้น จะมีอัตรา โรคฟันผุร้อนกว่า คนที่อาศัยในบริเวณที่ ไม่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ ที่ไม่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มตามธรรมชาติ อาจต้องให้ฟลูออไรด์ทางระบบ ชนิดเม็ด หรือน้ำ หรือฟลูออไรด์เฉพาะที่ เช่น เจล น้ำยาบ้วนปาก หรือยาสีฟันฟลูออไรด์ ซึ่งการใช้ต้องระมัดระวัง ไม่ควรให้พร้อมกันหลายทาง และควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อความปลอดภัย ในขนาดที่เหมาะสม
อาหารพวก เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว
             อาหารพวกนี้ จะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จึงทีความสำคัญ ในการรักษาสภาพของอวัยวะปริทันต์ ถ้าขาดโปรตีน นอกจากร่างกายจะไม่เจริญเติบโต แคระแกร็นแล้ว ยังพบว่า มีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นยึดปริทันต์ ฟันมีการสร้างช้า ลักษณะผิดปกติ ซี่เล็ก การเจริญติบโตของขากรรไกรหยุดชะงัก
อาหารพวก แป้ง และน้ำตาล
                ร่างกายนำไปใช้ในการให้พลังงาน และความอบอุ่น ทำให้สมองเด็กเจริญได้ดี ฉลาด จะมีผลต่อสุขภาพช่องปาก โดยการสัมผัสโดยตรง มากกว่าที่จะมีส่วน ในการสร้างความแข็งแรง ของโครงสร้างฟัน และเหงือก ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป
อาหารพวก ไขมัน วิตามิน และน้ำ
               มีความสำคัญ และจำเป็นต่อสุขภาพฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องปาก เช่น ถ้าขาดวิตามินซีมากๆ จะเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า ลักปิดลักเปิด เพราะเส้นเลือดฝอยเปราะ หรือขาดวิตามินบี จะเป็นโรคปากนกกระจอก ซึ่งยังพบอยู่ในเด็กชนบทของไทยเรา หรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหารแล้ว เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้ พบได้น้อย ถ้าเทียบกับโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ จึงไม่พิเศษ และเด่นชัด เท่าอาการกลุ่มอื่นที่กล่าวมา
1.2 ผลกระทบของอาหาร ต่อการสัมผัสเหงือกและฟันโดยตรง
                อาหารจะมีผลกระทบโดยตรงต่อฟัน เมื่อมีฟันขึ้นในช่องปาก แต่อาหารจะมีผลต่อเหงือก และสภาวะแวดล้อมในช่องปาก ตั้งแต่แรกคลอด ที่ทารกใช้ปาก เป็นทางผ่านของอาหาร โดยอาหารที่สัมผัสกับเหงือกและฟัน บางชนิดมีประโยชน์ ช่วยให้ฟันแข็งแรง เหงือกสะอาด แต่อาหารบางชนิดจำเป็นต้อง หลีกเลี่ยง ไม่ให้สัมผัสเหงือกและฟัน แต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้แล้ว ก็ควรกำจัดออกให้เร็วที่สุด เนื่องจากเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้เกิดฟันผุ และเหงือกอักเสบ เร็วยิ่งขึ้น
อาหารพวกแป้ง และน้ำตาล
               เป็นอาหารประเภทที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ได้ง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นอาหาร ที่เชื้อจุลินทรีย์นำไปสร้างพลังงาน ซึ่งให้ผลเป็นกรด กัดกร่อนฟัน นอกจากนี้ น้ำตาลยังก่อให้เกิดการจับตัว เป็นคราบจุลินทรีย์ (
Plaque) ซึ่งเหนียวเกาะติดฟัน ยากแก่การละลาย ดังนั้น ในบริเวณชั้นในสุด ของแผ่นคราบจุลินทรีย์ จึงมีความเป็นกรดสูง ซึ่งสารละลาย และน้ำลายไม่สามารถซึมผ่าน เข้าไปเจือจางได้ ผิวเคลือบฟันจึงมักถูกทำลาย ค่อนข้างเร็ว เพียง 2-3 นาที หลังรับประทานอาหารกลุ่มนี้ ก็เกิดกรดขึ้นแล้วในช่องปาก
ความสามารถของน้ำตาล ที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ขึ้นกับ


ข้อแนะนำการกินอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ
1. กินอาหารที่สมดุล อุดมไปด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้
2. กินอาหารที่มีองค์ประกอบหลากหลาย เช่น เพิ่มผัก ผลไม้สดในมื้ออาหาร ผลิตภัณฑ์จากนม อาจกินในมื้ออาหารหรือระหว่างมื้ออาหารก็ได้ ส่วนอาหารที่ทำให้ฟันผุและเครื่องดื่มรสหวาน เปรี้ยว ให้กินในมื้ออาหาร
3. แปรงฟัน หรือบ้วนปาก หรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มี น้ำตาล หลังรับประทานอาหาร เพื่อกระตุ้นการ ไหลของน้ำลาย
4.การดื่มนมหลังกินอาหาร จะช่วยสนับสนุนการคืน กลับของแร่ธาตุสู่ผิวฟัน เพราะนมอุดมไปด้วย แคลเซียม
5. เครื่องดื่มรสหวานควรดื่มรวดเดียวมากกว่าจิบอมในปาก
6. ลำดับการกินก็มีผล เช่น กินน้ำหวานก่อนเนยแข็งดีกว่ากินเนยแข็งก่อนกินน้ำหวาน
7. ลดการกินจุบจิบ และไม่ดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานอาหารก่อนเข้านอน

8.ไม่พาเด็กเข้านอนพร้อมให้ดูดขวดใส่นมหรือน้ำผลไม้


                                                                   อ้างอิง
http://dental2.anamai.moph.go.th/download/article/article_20160915150211.pdf
http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/happysmile/media/family/f06.htm
https://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/12/o_198s32fk11h91fhl3hd3om1la9o.pdf
http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/content/org/webpageJDMS_30/demo/data/2560/2560-06/2560-06-11-15.pdf
file:///C:/Users/room1301/Downloads/117888-Article%20Text-304468-1-10-20180404.pdf

http://dental2.anamai.moph.go.th/download/download/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A15.pdf
https://www.108dentalfocus.com/15683993/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87-6-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2






วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ


 (กระเทียมน่ารู้ (นวลฉวี)
มหัศจรรย์สมุนไพรรักษาโรคกับฟ้าทะลายโจร(รัติกาล)
การดูแลเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวาน (จุฬามาศ)
มะระขี้นกลดระดับน้ำตาล (สุกัญญา)
โหระพาน่ารู้ (กัญญารัตน์)

โปรดคลิกรับชมวีดีทัศน์ด้านล่าง














               นวัตกรรมหนูน้อยกะลาสอนแปลงฟัน

แนวคิดและหลักการ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี และฝึกความมีวินัยในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีของตัวเอง จึงได้สร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพช่องปากขึ้นดังนี
เป็นนวัตกรรมที่ทำง่ายและใช้ต้นทุนทำที่ตำ และใช้วัสดุเหลือใช้บ้าน หรือจากชุมชน

         อุปกรณ์ที่ใช้

      กะลามะพร้าว










  เลื้อย










    กระดาษทราย








    สีน้ำ









   สีเคลือบเงา














    ผ้าเศษ










   ดินสอ














   วิธีการทำนวัตกรรมหนูน้อยกะลาสอนแปลงฟัน
1.       นำกะลามะพร้าวที่หาได้จากบ้าน หรือในชุมชน ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ และจำนวนที่เราต้องการจะทำ ใช้เลื้อย เลื้อยกะลามะพร้าวให้เป็น 2 ชิ้น และทำการเอาเนื้อมะพร้าวออก จากนั้นนำกะลามะพร้าวไปตากให้แห้ง
2.       นำกระดาษทรายมาขัดให้ผิวกะลามะพร้าว เพื่อให้ผิวเรียบสวยงาม จากนั้นใช้ดินสอวาดร่างรูปฟันที่ผุ จากนั้นใช้เลื้อยตกแต่งให้มีลักษณะเหมือนฟันผุ
3.       ใช้สีน้ำระบายกะลามะพร้าวชิ้นที่ 1 ตามแบบที่เราต้องการ โดยเราจะเน้นบริเวณที่ทำเป็นฟัน รอให้สีน้ำแห้ง 20-30 นาที จากนั้นใช้เศษผ้ามาตกแต่งกะลามะพร้าวโดยเราจะทำเป็นรูปโบว์ หรือรูปอะไรก็ได้ ตามความเหมาะสม ส่วนกะลาอีกชิ้น จะเอาไว้ทำเป็นฐาน

4.       เมื่อตกแต่งตามใจชอบแล้ว จากนั้นเราก็นำกะลา มาประกอบเข้าด้วยกัน ก็เป็นอันเสร็จ

วิธีการแปรงฟัน
วิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีเป็นอย่างไร
การแปรงฟันที่ถูกต้องควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 นาที หรือ 120 วินาทีนั่นเอง คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ใช้เวลากับการแปรงฟันนานขนาดนั้น เพื่อที่จะควบคุมเวลา ควรจะใช้นาฬิกาจับเวลามาช่วย และเพื่อการแปรงฟันที่ถูกต้อง ควรสะบัดข้อมืออย่างสั้นๆ เป็นจังหวะ และอ่อนโยน โดยให้ความเอาใจใส่กับแนวเหงือก ฟันซี่ในที่แปรงยาก และบริเวณรอบๆ ฟันที่อุดหรือครอบ การทำความสะอาดแต่ละส่วนควรเป็นดังต่อไปนี้





1.       วางแปรงสีฟันโดยทำมุม 45° กับร่องเหงือก เคลื่อนแปรงสีฟันไปด้านหน้าและด้านหลัง ทำแบบนี้ซ้ำกันกับฟันทุกซี่
2.       แปรงผิวด้านในของฟันแต่ละซี่ โดยใช้เทคนิคด้านหน้าและด้านหลัง
3.       แปรงผิวฟันส่วนที่บดเคี้ยว (ด้านบน) ของฟันแต่ละซี่
4.       ใช้ปลายแปรงสีฟันทำความสะอาดด้านหลังฟันแต่ละซี่ โดยขยับแปรงไปด้านหน้าและด้านหลัง บนและล่าง และขึ้นลง
5.       และอย่าลืมแปรงลิ้นเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปาก

หนูน้อยกะลาสอนการแปรงฟัน : ใช้สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีพร้อมร้องเพลงประกอบท่าทางการ แปรงฟันและให้เด็กๆทำตาม

อ้างอิง
https://www.google.com/search?biw=1517&bih=652&tbm=isch&sa=1&ei=gZmWW-PAEcT6vATT2LywCA&q=%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&oq=%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&gs_l=img.3..0l10.28972.31702.0.33461.5.4.0.1.1.0.106.319.3j1.4.0....0...1c.1.64.img..0.5.319...35i39k1j0i67k1.0.W4NFKd-OYLg#imgrc=TE49dbJH0LISzM:



พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร                 การบริโภคในสภาวะและเหตุการณ์ของโลก ในป...